ธุรกิจภาพยนตร์เกี่ยวข้องกับใครบ้าง
กว่าภาพยนตร์หนึ่งเรื่องจะฉายลงสู่จอให้ผู้คนได้ยลโฉม หัวเราะ ร้องให้ ตื่นเต้นไปกับภาพยนตร์นั้น แน่นอว่ามันผ่านกระบวนการคิด การผลิตจากผู้คนหลากหลายอาชีพไม่ว่าจะเป็นอาชีพเขียนบท อาชีพผู้กำกับ อาชีพการแสดง อาชีพสร้างฉาก อาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า และอาชีพอื่นๆอีกมากมายหลายร้อยชีวิต ไม่ใช่ง่ายๆกับภาพยนตร์เพียงหนึ่งชั่วโมงครึ่งมันใช้เวลาในการผลิตเป็นปีๆ บางเรื่องก็หลายๆปี เรามาทำความรู้จักผู้คนหลากหลายอาชีพนั้นว่ามีกี่ห่วงโซ่กันแน่ที่เกี่ยวเนื่องกัน ต่อยอดกัน และผสานกันจนผลักดันให้พวกเราได้ชมภาพยนตร์หนึ่งเรื่องนั้น
Pre-Production เตรียมงานก่อนการผลิต
- ห่วงโซ่ที่ 1 ทีมครีเอทีฟ เขียนเรื่อง เขียนบท
- ห่วงโซ่ที่ 2 โมเดลลิ่ง ทีมจัดหานักแสดง
- ห่วงโซ่ที่ 3 ทีมออกแบบงานสร้าง ออกแบบฉาก ออกแบบเสื้อผ้า
- ห่วงโซ่ที่ 4 ทีมจัดหาสถานที่ถ่ายทำ
Development ส่วนพัฒนาและส่วนเสริมการเตรียมงาน
- ห่วงโซ่ที่ 5 ผู้ให้บริการด้านกฏหมายลิขสิทธิ์ต่างๆ
- ห่วงโซ่ที่ 6 ผู้นำเข้าซอร์ฟแวร์เขียนบท ซอร์แวร์ตัดต่อ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- ห่วงโซ่ที่ 7ผู้ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์
- ห่วงโซ่ที่ 8 ผู้ประพันธ์วรรณกรรมกรณีซื้อเรื่องมาพัฒนาทำบท
- ห่วงโซ่ที่ 9 ผู้แปลภาษา
- ห่วงโซ่ที่ 10 ผู้ลงทุน
- ห่วงโซ่ที่ 11 ผู้อำนวยการสร้าง
Production ขั้นตอนการผลิต
- ห่วงโซ่ที่ 12 ผู้ให้บริการเช่าอุปกรณ์ กล้อง
- ห่วงโซ่ที่ 13 ผู้ให้บริการเช่าอุปกรณ์ ไฟ กริป
- ห่วงโซ่ที่ 14 ผู้ให้บริการเช่าอุปกรณ์ ริกกิ้ง
- ห่วงโซ่ที่ 15 ผู้ให้บริการเช่าสถานที่สำหรับถ่ายทำ
- ห่วงโซ่ที่ 16 ผู้ให้บริการเช่าหรือซื้อฉาก และอุปกรณ์ประกอบฉาก
- ห่วงโซ่ที่ 17 ผู้ให้บริการเช่าสตูดิโอ
- ห่วงโซ่ที่ 18 ผู้ให้บริการเช่าเครื่องแต่งกาย
- ห่วงโซ่ที่ 19 ผู้ให้บริการเช่ายานพาหนะ
- ห่วงโซ่ที่ 20 ผู้ให้บริการเช่าห้องน้ำเต้นท์และสิ่งอำนวยความสะดวก
- ห่วงโซ่ที่ 21 ผู้จัดการกองถ่าย
- ห่วงโซ่ที่ 22 ผู้กำกับ
- ห่วงโซ่ที่ 23 ผู้กำกับภาพ และทีมจัดการกล้อง
- ห่วงโซ่ที่ 24 กราฟเฟอร์และบุคลากรทีมไฟ
- ห่วงโซ่ที่ 25 ทีมอาร์ตและงานศิลป์
- ห่วงโซ่ที่ 26 ทีมสตั้นแมนหรือนักแสดงฉากคิวบู้
- ห่วงโซ่ที่ 27 แต่งหน้า ทำผม
- ห่วงโซ่ที่ 28 ทีมบันทึกเสียง
- ห่วงโซ่ที่ 29 ทีมเสลทและควบคุมความต่อเนื่อง
- ห่วงโซ่ที่ 30 ทีมภาพพิเศษ มุมสูง และกล้อง360 กล้องโกโปรต่างๆ
- ห่วงโซ่ที่ 31 ทีมสเปเชียลเอฟเฟ ระเบิด ไฟ ฝน
- ห่วงโซ่ที่ 32 ทีมสวัสดิการณ์อาหารเครื่องดื่ม
- ห่วงโซ่ที่ 33 บุคลากรแพทย์
- ห่วงโซ่ที่ 34 ฝ่ายขายประกันชีวิต
- ห่วงโซ่ที่ 35 ผู้ควบคุมดูแลการแสดงของสัตว์ สิ่งมีชีวิตเข้าฉาก
Post-Production ขั้นตอนการผลิตในห้องตัดต่อ
- ห่วงโซ่ที่ 36 ผู้ให้บริการสตูดิโอตัดต่อ
- ห่วงโซ่ที่ 37 นักตัดต่อ
- ห่วงโซ่ที่ 38 ทีมเทคนิคพิเศษ วิชวลเอฟเฟ็ก
- ห่วงโซ่ที่ 39 ผู้ผลิตเสียงดนตรีประกอบ
- ห่วงโซ่ที่ 40 ผู้ผลิตเสียงซาวด์เอฟเฟ็ก
- ห่วงโซ่ที่ 41 ผู้ให้บริการห้องบันทึกเสียง
- ห่วงโซ่ที่ 42 ผู้ให้เสียงบรรยาย หรือเสียงพากย์
- ห่วงโซ่ที่ 43 ผู้ให้บริการทำสีและแปลงไฟล์
Distribution and Marketing การจัดจำหน่าย และการตลาด
- ห่วงโซ่ที่ 44 ทีมโปรโมทประชาสัมพันธ์ ทั้งสื่อมีเดียต่าง ไม่ว่าจะเป็น คลิปไวรัล วีดีโอพรีเซ้นเตชั่น วีดีโอโปรโมทต่างๆ
- ห่วงโซ่ที่ 45 ผู้รับจ้างออแกไนเซอร์
- ห่วงโซ่ที่ 46 ผู้ให้บริการจัดฉายทั้งโรงภาพยนตร์และสตรีมมิ่ง
- ห่วงโซ่ที่ 47 ทีมจัดจำหน่ายและประสานจำหน่ายทั้งไทยและต่างประเทศ
- ห่วงโซ่ที่ 48 ผู้ให้บริการแปลภาษา
- ห่วงโซ่ที่ 49 ผู้ให้บริการแปลงไฟล์ ทำสำเนา
- ห่วงโซ่ที่ 50 ผู้จัดจำหน่ายและตัวแทนลิขสิทธิ์
เห็นไหมครับว่านี่นับเพียงห่วงโซ่หลักๆซึ่งยังไม่รวมห่วงโซ่ย่อยๆของแต่ละห่วงโซ่หลักนะครับเริ่มเห็นแล้วไช่ไหมว่าใช้คนจำนวนมากจริงๆ การผลิตภาพยนตร์จึงเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อเกิดรายได้ให้หลากหลายอาชีพและเมื่อภาพยนตร์ออกฉายสู่สายตาประชาชนทั่วไปก็ก่อเกิดรายได้กลับมาสู่ชุมชนหรือพื้นที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นในภาพยนตร์นั้นๆดังเช่นประเทศเกาหลีใต้ที่ใช้ภาพยนตร์ และดนตรีเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศครับ บทความหน้าเรามาทำความรู้จักพลังของภาพยนตร์ในการส้รางรายได้กันครับที่ใครๆก็มักเรียกว่า “พลังแห่งซอฟต์พาวเวอร์ “ คืออะไรกันนะ!
โดย นกน้อย สีบลู